ทดสอบ ICT กลุ่ม 2
การสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic respiration)
การหายใจ(Respiration) คือกระบวนการสลายสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีน โดยอาศัยการควบคุมของเอนไซม์ภายในเซลล์
การหายใจแบบใช้ออกซิเจน เป็นกระบวนการสร้าง ATP จากโมเลกุลของกลูโคสได้มากที่สุดถึง 36 -38 โมเลกุล หรือมากกว่าต่อกลูโคส 1 โมเลกุล
การหายใจแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic respiration) เป็นการสลายสารอาหารโดยใช้ออกซิเจนเข้าร่วมปฏิกิริยา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1. ไกลโคลิซีส (Glycolysis)
2. การสร้างอะซิติลโคเอนไซม์ เอ หรือการออกซิเดชัน กรดไพรูวิก (Pyruvate
oxidation หรือ pyruvate dehydrogenase complex pathway)
3. วัฏจักรเครบส์ (Krebs cycle)
4. การถ่ายทอดอิเล็กตรอน (Electron transport system)
รูปที่ 1.1 การสลายโมเลกุลของสารอาหารแบบใช้ออกวิเจน |
1. ไกลโคลิซีส (Glycolysis)
กระบวนการนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า EMP Pathway ซึ่งเรียกตามชื่อของผู้ริเริ่มศึกษา
กระบวนการนี้ 3 คน คือ Emden , Meyerhof, Parnas กระบวนการไกลโคลิซีสเป็นกระบวนการสลายน้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) ซึ่งมีคาร์บอน 6 อะตอมไปเป็นกรดไพรูวิก (C3H4O3) ซึ่งมีคาร์บอน 3 อะตอม จำนวน 2 โมเลกุล เกิดที่ไซโทพลาสซึมของเซลล์ที่เรียกว่าไซโทซอล (Cytosol) มีหลายขั้นตอนแต่ละขั้นตอนมีเอนไซม์ต่างชนิดกันเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
เริ่มต้นด้วยการเติมหมู่ฟอสเฟตให้กลูโคส ทำให้กลูโคสมีค่าพลังงานศักย์สูงขึ้น ในการฟอสโฟรีเลชันกลูโคส 1 โมเลกุล ต้องใช้พลังงาน 2 ATP
ฟอสโฟรีเลชัน หมายถึง การรวมตัวของหมู่ฟอสเฟต (Pi) กับสารแล้วทำให้สารนั้นมีค่าพลังงานศักย์สูงขึ้น เช่น
ADP + Pi " ATP
กลูโคส + Pi " กลูโคส- Pi
พลังงานที่ปล่อยออกมาจากการสลายกลูโคสไปเป็นกรดไพรูวิก สามารถสังเคราะห์ ATP ได้ 4 โมเลกุล และไฮโดรเจนที่ประกอบด้วยอิเล็กตรอนที่มีค่าพลังงานศักย์สูงอีก 4 อะตอม โดยมี NAD มารับโปรตอนและอิเล็กตรอน เนื่องจากอะตอมของไนโตรเจนมีประจุบวก จึงเขียน NAD+ โดย 1 โมเลกุลของ NAD+ รับไฮโดรเจนได้ 2 อะตอม และรับอิเล็กตรอนได้ 2 อะตอม
ดังนี้
NAD+ + 2H+ + 2e- " NADH + H+
NADH + H+ เป็นสารรีดิวซ์ เพราะได้รับอิเล็กตรอน ถ้าสูญเสียอิเล็กตรอนพร้อมไฮโดรเจน 2 อะตอมจะกลายเป็น NAD+
รูปที่ 1.2 ขั้นตอน GLYCOLYSIS |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น